วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การปรับเปลี่ยนช่วงเวลาใน Program Metastock

ในการเปลี่ยนเวลา (Periodicity) จะมีอยู่ 2 แบบ ด้วยกัน คือ

1. ตั้งค่าก่อนเลือก Chart

2. ตั้งค่าตอนเปิด Chart แล้ว




ตั้งค่าก่อนเลือก Chart

ให้เลือก File > New > Chart เมื่อเราเข้าไปแล้ว จะได้รูปแบบตามภาพ




ตั้งค่าตอนเปิด Chart

เมื่อเราเปิด Chart แล้วต้องการเปลี่ยน Period ให้เราดูตรงด้านล่างขวา จะมีอักษรตัว D อยู่ดังภาพเราก็สามารถเลือก Period ที่ต้องการได้


  

ส่วนถ้าใครอยากตั้งเวลานอกเหนือจากที่ทาง Metastock มีให้อยู่แล้ว ให้เราเลือก Custom เมื่อเลือกแล้วจะได้ดังภาพ










หากสนใจทดลองใช้งานโปรแกรม investorPlugin ได้ฟรี 14 วัน คลิ๊กเลย

Tel :: 02 166 3159-61 # 103-106
Email :: sales@investorz.com

Hot List ใน investorLive



Hot List

Hot List - หน้าต่างที่จะแสดงอันดับสูงสุดและต่ำสุด ณ. เวลานั้น ๆ ในตลาดที่เราต้องการดู เช่น สามารถเลือกให้แสดง Top Buy หรืออาจจะเป็น Top Sell ก็สามารถทำได้ ในตัว Hot List นั้น จะอยู่ในโปรแกรม Investor Plugin นะครับ






วิธีการใช้ Hot List

1. เลือกหมวดหมู่ที่จะต้องการดู - ในหมวดหมู่จะมีให้เลือกอยู่ 4 อย่างด้วยกัน คือ
    - Equities
    - Futures
    - Options
    - Global
2. เลือกกลุ่มตลาดที่จะต้องการดู - ในช่องนี้จะมีทั้งตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. เลือกหัวข้อการจัดอันดับที่จะต้องการดู - ในช่องนี้จะมีให้เลือกทั้ง Top Buy หรือ Top Sell และอื่น ๆ อีกมากมาย
4. เลือกจำนวนหุ้นที่จะต้องการให้แสดงผล - จะมีให้เลือกตั้งแต่ 10 อันดับ จนไปถึง 100 อันดับ
5. Edit Fields - เป็นการตั้งค่าข้อมูลที่จะต้องการให้แสดงผล











หากสนใจทดลองใช้งานโปรแกรม investorPlugin ได้ฟรี 14 วัน คลิ๊กเลย

Tel :: 02 166 3159-61 # 103-106
Email :: sales@investorz.com

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สร้างพอร์ตและสร้างคัมภีร์การลงทุน

สร้างพอร์ตและสร้างคัมภีร์การลงทุน

 

มาถึงตรงนี้... คุณคงรู้จักตนเองและรู้จักทางเลือกลงทุนประเภทต่างๆ มากขึ้นแล้ว แต่อย่าเพิ่งใจร้อนตัดสินใจลงทุน เพราะการลงทุนที่ประสบความสำเร็จจะต้องมี "การสร้างพอร์ตลงทุนที่เหมาะกับตนเอง" ซึ่งพอร์ตการลงทุนที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้


อย่างไรก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องมีพอร์ตลงทุนแค่พอร์ตเดียว แต่อาจมีหลายพอร์ตตามวัตถุประสงค์ของการลงทุนของเงินก้อนนั้น ซึ่งสัดส่วนการลงทุนในแต่ละพอร์ตอาจแตกต่างกันไปตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และระดับอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลงทุนนั้นๆ 
หลังจากหาแนวทางการจัดพอร์ตในแบบที่ "ชอบ" และ "ใช่" ได้แล้ว คุณก็ต้องเลือกหลักทรัพย์รายตัว (Securities Selection) มาเข้าพอร์ตตามสัดส่วนของสินทรัพย์แต่ละประเภทที่กำหนดไว้ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์โดยรวมของตลาด และข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ลงทุนนั้นๆ เป็นรายตัว เพื่อพิจารณาว่าจะเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ตัวใด
และเมื่อมีแนวทางการจัดสรรเงินลงทุนที่แน่นอนแล้ว อย่าลืม... เขียนคัมภีร์การลงทุนหรือ "นโยบายการลงทุน" ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับใช้เป็นกรอบในการตัดสินใจลงทุนด้วย ซึ่งคุณควรปรับปรุงนโยบายการลงทุนให้เป็นปัจจุบันเสมอ
นโยบายการลงทุน ควรมีข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้
1
เป้าหมายการลงทุน จำนวนเงิน และระยะเวลาลงทุน
2
ข้อจำกัดในการลงทุน และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
3
ระดับอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
4
วิธีการสร้างพอร์ตการลงทุน และแนวทางการคัดเลือกสินทรัพย์ที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย
5

วิธีการติดตามและทบทวนผลการลงทุนรวมถึงเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) ที่ใช้เปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุน

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.set.or.th/education/th/begin/begin.html



หากสนใจทดลองใช้งานโปรแกรม investorPlugin ได้ฟรี 14 วัน คลิ๊กเลย

Tel :: 02 166 3159-61 # 103-106
Email :: sales@investorz.com

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

มารู้จักเลือกการลงทุนกันเถอะ

มารู้จักเลือกการลงทุนกันเถอะ
        หลังจากสำรวจตัวเราเองว่ามีความพร้อมและสามารถน้อมรับความเสี่ยงได้แค่ไหนแล้ว เราต้องรู้จักเลือกลงทุนด้วยซึ่งจะต้องลงทุนอย่างไรบ้างมาดูกันเถอะ
        ทุกวันนี้นอกจาก "เงินฝากธนาคาร" ที่เราคุ้นเคยกันดีแล้ว ยังมีทางเลือกลงทุนให้เลือกมากมาย แต่เพื่อไม่ให้งงกันจนเกินไป เราแค่จำทางเลือกลงทุนเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆพอ ได้แก่
 ลงทุนเป็นเจ้าหนี้ (Debt)
        หากคุณไม่พร้อมจะเป็นเจ้าของแต่อยากลองเป็นแค่ "เจ้าหนี้" แบบที่เหมาะจะเป็นจำพวกกลุ่ม"ตราสารหนี้"  เช่น พันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ, หุ้นกู้, หุ้นกู้แปลงสภาพ
ลงทุนเป็นเจ้าของ (Equity)
       หากคุณรู้สึกดีที่ได้เป็น "เจ้าของ"  แบบที่เหมาะจะเป็นจำพวกกลุ่ม "ตราสารทุน"  เช่น หุ้นสามัญ, หุ้นบุริมสิทธิ
ลงทุนจัดการความเสี่ยง (Derivatives)
       หากคุณรับความเสี่ยงได้และอยากทำกำไรในทุกสภาวะตลาด แบบที่เหมาะจะเป็นจำพวกกลุ่ม "อนุพันธ์"  เช่น ฟิวเจอร์ส, ออปชั่น
ลงทุนทางเลือกอื่น (Alternative Investment)
       หากคุณชอบการ “ลงทุนที่หลากหลาย” แบบที่เหมาะจะเป็นจำพวกกลุ่ม เช่น ทองคำ, อสังหาริมทรัพย์
        แต่หากคุณยังไม่มีประสบการณ์ลงทุน หรือยังไม่พร้อมจะลงทุนเอง อยากมี "มืออาชีพ" คอยดูแลการลงทุนให้ อาจเริ่มจากการศึกษา "กองทุนรวม" ดูก่อนก็ได้ ซึ่งกองทุนรวมมีให้เลือกมากมาย ไม่ว่าคุณจะชอบหุ้น พันธบัตร ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ จะ Go Inter หรือชอบประหยัดภาษี กองทุนรวม มีครบให้เลือกซื้อ ทั้งระยะสั้น ระยะยาว ตามใจคุณ
ลงทุนผ่านมืออาชีพ (Mutual Fund)
        หากคุณไม่พร้อมจะลงทุนเอง สามารถเลือก "มืออาชีพ" ให้ดูแล "กองทุนรวม" จะตอบโจทย์ของคุณได้ เช่น กองทุนรวม 10 แบบมาตรฐาน,  กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), อีทีเอฟ (ETF)
แต่เพื่อให้แน่ใจว่าทางเลือกที่จะลงทุนนั้น เหมาะกับเป้าหมายและข้อจำกัดในการลงทุน ของคุณจริงๆ คุณอาจต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติเฉพาะตัว ความเสี่ยงและผลตอบแทน ตลอดจนข้อดีข้อเสียของทางเลือกต่างๆ อย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยให้คุณจัดสรรเงินลงทุนได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.set.or.th/education/th/begin/begin.html
ขอบคุณภาพจาก designed by Freepik.com




หากสนใจทดลองใช้งานโปรแกรม investorPlugin ได้ฟรี 14 วัน คลิ๊กเลย

Tel :: 02 166 3159-61 # 103-106
Email :: sales@investorz.com





วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

5 จุดเด่น ทำใมถึงต้องใช้ MetaStock, AdvancedGET, AmiBroker

5 จุดเด่น ทำใมถึงต้องใช้ MetaStock, AdvancedGET, AmiBroker


สวัสดีครับ แอ๊ดมินจ๊อบกลับมาแล้วหลังจากที่ห่างหายกันไปนาน วันนี้แอ๊ดมินจ๊อบเอาข้อดี 5 ประการของ MetaStock, AdvancedGET และ AmiBroker มาให้พิจารณากันครับ



MetaStock




ตัวโปรแกรม MetaStock นี้เป็นตัวโปรแกรมที่ดังมากในอดีตครับ ด้วยความที่โปรแกรมใช้งานง่าย และมีผู้สอนที่เยอะมาก ทำให้โปรแกรมนี้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป

จุดเด่นของโปรแกรม


1. สูตร Indicator ที่มีให้เลือกใช้อย่างนับไม่ถ้วน

2. มีแหล่งความรู้เกี่ยวกับ Indicator โปรแกรม MetaStock หลายที่

3. สูตร Indicator สร้างง่าย มีจุดซื้อจุดขาย และแจ้งเตือนได้

4. ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก

5. มีหนังสือสอนการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม MetaStock ขายโดยทั่วไป



AdvancedGET




โปรแกรม AdvancedGET นี้ถงแม้ว่าจะดูหน้าตาโบราณ แต่ในความโบราณของตัวโปรแกรมนี้ก็ยังมี Indicator บางตัวที่ยังสามารถใช้งานได้จริงจนถึงทุกวันนี้

จุดเด่นของโปรแกรม


1. มี Indicator Elliott Wave ที่เพียงแค่คลิ๊ก ตัวโปรแกรมก็จะแสดง Wave ขึ้นมาให้ทันที

2. มี Indicator GETStochastic ที่เพิ่มความแม่นยำในการใช้งานเข้าไปอีกขั้นจาก Stochastic ธรรมดา

3. ใช้งานง่าย โปรแกรมเล็ก

4. สามารถใช้ข้อมูล Realtime ได้

5. รองรับ Windows 10



AmiBroker

โปรแกรม AmiBroker นี้เป็นโปรแกรมที่กำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนหลายๆท่าน เนื่องจากความสามารถของโปรแกรมนี้ไม่ธรรมดา

จุดเด่นของโปรแกรม


1. สามารถสร้าง Indicator ที่ซับซ้อนได้

2. มี Indicator แจกที่หน้าเวปไซท์หลักของ AmiBroker

3. มี update ออกมาให้ทดลองใช้เรื่อยๆ

4. ตัวทดลองใช้ไม่จำกัดอายุการใช้งาน (แต่ตัดเรื่องการเซฟกราฟออกไปนะครับ)

5. สามารถเรียนรู้การสร้างสูตรได้ด้วยตนเองผ่าน Help ของโปรแกรม



หากสนใจทดลองใช้งานโปรแกรม investorPlugin ได้ฟรี 14 วัน คลิ๊กเลย

Tel :: 02 166 3159-61 # 103-106
Email :: sales@investorz.com

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ค่าใช้จ่ายที่เลี่ยงไม่ได้หากจะใช้ชีวิตในคอนโด

หนุ่ม-สาวรุ่นใหม่วัยเริ่มต้นทำงาน เมื่อทำงานไปได้สักพัก พอมีเงินเก็บบ้างแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงมองหาคอนโดสักห้องไว้อยู่อาศัยเพื่อให้ชีวิตสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องตื่นแต่เช้า เดินทางฝ่ารถติดจากบ้านมาถึงที่ทำงาน จะไปไหนมาไหนก็ใกล้ เหมาะกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน แต่การซื้อคอนโดสักห้องก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงพอๆ กับการซื้อบ้านสักหลังเลยทีเดียว นอกจากเงินดาวน์ เงินผ่อนต่อเดือนแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายตามมาอีกมากมายเมื่อเข้าอยู่คอนโด ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ว่าจะมีอะไรบ้างนั้น วันนี้ Investor ได้รวบรวมข้อมูลจาก จากธนาคารกสิกรไทย และ เว็ปไซด์กระปุกดอทคอม มาฝากกันค่ะ



ค่าเฟอร์นิเจอร์
ถ้าคอนโดที่ซื้อเป็นห้องเปล่าซึ่งยังไม่ได้ตกแต่งหรือมีเฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้ใด ๆ แน่นอนว่าต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อเฟอร์นิเจอร์มาตกแต่งห้องให้พร้อมอยู่ ไม่ว่าจะเป็น เตียงนอน ตู้เสื้อผ้า โซฟา รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่จำเป็น รวมกันแล้วเป็นค่าใช้จ่ายหลักหมื่นถึงหลักแสนบาทเลยทีเดียวค่ะ 

ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้คือค่าดูแลรักษาทรัพย์สินของส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็น ระบบรักษาความปลอดภัย สระว่ายน้ำ ฟิตเนส สวนในโครงการ หรือที่จอดรถ ซึ่งจะเรียกเก็บจากเราล่วงหน้าเป็นรายปี โดยคิดราคาตามขนาดพื้นที่ห้อง เป็นราคาต่อตารางเมตร ทั้งนี้อัตราค่าส่วนกลางจะแตกต่างกันไปในแต่ละโครงการ เช่น 50 บาท/เดือน/ตร.ม. สมมติเราเลือกคอนโดแบบ 1 ห้องนอน ขนาด 25 ตารางเมตร ค่าใช้จ่ายส่วนกลางจะอยู่ที่ 15,000 บาท ต่อปีค่ะ


ค่าประกันอัคคีภัย
ค่าประกันอัคคีภัยถือเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่มาพร้อมกับการกู้ซื้อคอนโด หรือนิติบุคคลเรียกเก็บจากเจ้าของร่วมทุกคน เพื่อช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับคอนโด ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ปกติจะจ่ายพร้อมกับค่าผ่อนคอนโดในงวดแรก หรือถูกเรียกเก็บจากนิติบุคคลเป็นรายปี โดยค่าเบี้ยประกันจะแตกต่างกันไปตามขนาดพื้นที่ห้อง รวมถึงชั้นของคอนโดที่อยู่ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณหลักพันบาทต่อปี

ค่าสาธารณูปโภค
เมื่อเข้าอยู่คอนโดแล้วย่อมมีค่าสาธารณูปโภคเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ หรือค่าอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ของแต่ละคน ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 1,500 บาทต่อเดือนขึ้นไป

จะเห็นว่าเมื่อรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกันแล้วจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว หากไม่เตรียมตัวเก็บเงินก้อนไว้ หรือไม่ได้วางแผนบริหารจัดการรายจ่ายในแต่ละเดือน แต่ละปีให้ดี ก็มีโอกาสที่จะกู้ซื้อคอนโดแล้วผ่อนไม่ไหวค่ะ ดังนั้นใครที่คิดว่าคอนโดสามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตได้ และสนใจอยากซื้อคอนโดสักห้อง ต้องไม่มองเพียงแค่ว่ามีเงินดาวน์ เงินผ่อนแล้วจะเข้าอยู่ได้เลย ต้องเตรียมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่จะตามมาด้วยค่ะ

ทั้งนี้แม้ว่าธนาคารจะกำหนดให้เรามีภาระผ่อนต่อเดือนได้ถึง 40% ของรายได้ แต่ทางที่ดีแนะนำว่าไม่ควรผ่อนเกิน 30% ของรายได้ค่ะ เพราะต้องเผื่อเงินไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะตามมาด้วย เพื่อไม่ให้ภาระผ่อนตึงมือจนเกินไปหรือกระทบกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในแต่ละเดือนของเราค่ะ

ที่มา :  www.money.kapook.com





หากสนใจทดลองใช้งานโปรแกรม investorPlugin ได้ฟรี 14 วัน คลิ๊กเลย

Tel :: 02 166 3159-61 # 103-106
Email :: sales@investorz.com

Ads Inside Post