วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โอละพ่อ! TRUE ส่อแววไม่ได้ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 4G

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในช่วงบ่ายวันนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) นัดพิเศษ ครั้งที่ 3/2558 มีวาระเพื่อพิจารณาสำคัญคือ เรื่องบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประมูล ได้ชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz งวดที่หนึ่งจำนวนร้อยละ 50 ของราคาที่ประมูลได้ในบ่ายวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 20,492.72 ล้านบาท

แต่ในการชำระเงินดังกล่าว บริษัทไม่ได้จัดส่งหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระ เงินประมูลงวดที่สองและสามให้กับสำนักงาน กสทช. ด้วย ตามที่ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทร คมนาคมย่าน 1800 MHz กำหนดให้ต้องมีการดำเนินการ แม้ว่าทางบริษัทชี้แจงว่าจะนำหนังสือค้ำประกันดังกล่าวมาให้ตามฤกษ์มงคล แต่การที่บริษัทยังไม่จัดส่งหนังสือค้ำประกันให้กับสำนักงาน กสทช. จึงถือว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขตามประกาศหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800 MHz

ดังนั้น จึงคาดว่า กทค. ยังไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ได้ แตกต่างจากกรณีของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประมูลอีกราย ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ชำระเงินประมูลคลื่นงวดที่หนึ่ง พร้อมทั้งวางหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงิน ประมูลงวดที่สองและสามแล้ว และ กทค. ได้มีมติออกใบอนุญาตให้กับบริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์คฯ แล้ว มีผลวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป โดยใบอนุญาตมีอายุ 18 ปี

นอกจากประเด็นเรื่องการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ของบริษัท ทรู มูฟ เอชฯ แล้ว ในการชำระเงินประมูลงวดที่หนึ่งดังกล่าว บริษัท ทรู มูฟ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ยังได้มีคำขอให้ กทค. พิจารณาทบทวนคำสั่งสิ้นสุดระยะเวลาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800 MHz ตามที่ได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช. ว่า กทค. ได้มีมติให้สิ้นสุดระยะเวลาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่น 1800 MHz ที่ได้ให้บริการในช่วงระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวตาม ประกาศมาตรการเยียวยาฯ โดยให้มีผลนับตั้งแต่เวลา 00.00.01 น. ของวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป โดยบริษัท ทรู มูฟฯ อ้างว่า การสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการตามกำหนดดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อ ประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากบริษัทไม่สามารถแจ้งและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการได้รับทราบ อย่างทั่วถึงได้ทัน จึงต้องการให้ กทค. มีมติชะลอการสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการออกไปก่อน

อย่างไรก็ดี การที่ กทค. มีมติออกใบอนุญาตให้กับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์คฯ ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตรายใหม่ การคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวก็ถือว่าเป็นอันสิ้นสุดโดยปริยายตาม ข้อ 9 วรรคหนึ่งของประกาศมาตรการเยียวยาฯ

ทั้งนี้เพื่อผู้รับอนุญาตรายใหม่สามารถนำคลื่นไปเตรียมความพร้อมสำหรับ การให้บริการได้ ข้ออ้างเรื่องผลกระทบต่อผู้ใช้บริการของบริษัท ทรู มูฟฯ จึงฟังไม่ขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่บริษัทย่อมรู้ล่วงหน้าอยู่ก่อนแล้วว่าอย่างไรเสียการคุ้ม ครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวต้องสิ้นสุดเมื่อมีการให้ใบอนุญาตกับผู้ ประกอบการรายใหม่ ซึ่งบริษัท ทรู มูฟฯ สมควรต้องเตรียมการล่วงหน้า ยังไม่ต้องพูดถึงข้อเท็จจริงที่ว่า สัญญาสัมปทานระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคมฯ กับ บริษัท ทรู มูฟฯ สิ้นสุดลงตั้งแต่ 15 กันยายน 2556 การเยียวยานั้นมีระยะเวลายาวนานมากว่า 2 ปี 2 เดือนแล้ว เหตุผลที่บริษัท ทรู มูฟฯ กล่าวอ้างเพื่อขอให้ กทค. ยืดระยะวันสิ้นสุดการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวออกไปอีก จึงดูไร้น้ำหนักแทบจะสิ้นเชิง

ส่วนเรื่องการสิ้นสุดบริการชั่วคราวที่บริษัท ทรู มูฟฯ ขอให้ กทค. ทบทวน แม้บริษัทฯ จะส่งหนังสือเข้ามาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ก่อนกำหนดวัน “ซิมดับ" แต่การที่ กทค. จะพิจารณาเรื่องนี้ในบ่ายวันที่ 26 พฤศจิกายน ก็ย่อมไม่อาจยับยั้ง “ซิมดับ" ได้ ต่อให้ กทค. เปลี่ยนแปลงมติก็ตาม ถึงอย่างไรการสิ้นสุดบริการต้องเกิดขึ้นก่อนแล้วตั้งแต่เที่ยงคืนของวันลอย กระทง (25 พฤศจิกายน) มิเช่นนั้นก็เท่ากับมีการฝ่าฝืนให้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย


 ขอขอบคุณข่าวจาก :: ข่าวหุ้น







หากสนใจทดลองใช้งานโปรแกรม investorPlugin ได้ฟรี 14 วัน คลิ๊กเลย

Tel :: 02 166 3159-61 # 103-106
Email :: sales@investorz.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ads Inside Post