วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สุดยอด นักวิเคราะห์หุ้นไทย Thai Best Analysts : Life & Work


สุดยอด นักวิเคราะห์หุ้นไทย

Thai Best Analysts : Life & Work



ผู้เขียน: ภัชราพร ช้างแก้ว
ผู้แปล ผู้เรียบเรียง: N/A
ปี: 2009
สำนักพิมพ์: แฟมมิลี่ โนฮาว

ทางบริษัทอินเวสเตอร์ มีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับเชิญให้สนับสนุนการจัดทำหนังสือเล่มนี้อย่างเป็นทางการ โดยคำแนะนำของนิตยสาร มันนี่ แอนด์ เวลธ์ หนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่วิชาการลงทุนและแนะนำชีวิตของนักวิเคราะห์หลายๆคน ในโบลกเกอร์ต่างๆ ในประเทศ

เข้าใจถึงหลักการเขียนบทวิเคราะห์

หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้เขียนถึงหลักการเล่นหุ้นแต่อย่างใด จึงขอไม่ให้คะแนนรวม ถึงแม้จะให้คะแนนในบางหมวดบ้าง ตามปกติ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์ในการอ่าน น่าจะเป็นท่านที่ต้องการจะประกอบอาชีพ หรือ กำลังมองทางเลือกในอาชีพนี้อยู่ ท่านจะได้เห็นถึงจุดยืน ความคาดหวัง มุมมอง รสชาติของการทำงาน และ ความสำเร็จ ของนักวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงในแวดวงนี้

หรือหากท่านเป็นแฟนคลับของ นักวิเคราะห์ในที่นี้ก็คงจะไม่ผิดหวังเป็นแน่ เพราะพวกเขาเหล่านั้นทำงานและอุทิตให้กับงานอย่างน่าชื่นชม

70% ของนักวิเคราะห์ในเล่มนี้มักจะพูดถึงความหนักใจถึงบทวิเคราะห์ที่ต้องถูกใจนักลงทุน โดยที่จะต่างกันไปตามประเภทของกลุ่มผู้อ่าน จากประเภทกองทุนจนถึงประเภทรายย่อย ประการที่สอง ก็คือการที่จะทำให้นักลงทุนที่อ่านได้ประโยชน์และไม่ผิดหวังเพราะเชื่อในคำแนะนำ อาทิ

"ถ้าวิเคราะห์ถูก ลูกค้าก็ชม แต่ถ้าวิเคราะห์ผิด ลูกค้าก็ด่า"
"นักวิเคราะห์อาจเป็นฮีโร่ในอาทิตย์นี้ และเป็นไอ้งั่งในอีกอาทิตย์ถัดมาก็ได้"

ในฐานะนักลงทุนรายย่อยคนหนึ่ง และได้คลุกคลีกับนักลงทุนรายย่อยพอสมควร ผมขอให้ความเห็น ว่านักลงทุน และ นักวิเคราะห์จากโบรก น่าจะมีจุดยืนที่ต่างกัน (ในเชิงจิตใจ) นั่นคือ จุดประสงค์หลักของนักลงทุนต้องการผลลัพธ์ เป็นตัวเงิน ในขณะที่ นักวิเคราะห์ต้องการ ความพอใจของนักลงทุนเป็นหลัก

การวิเคราะห์หุ้นนั้นมีหลายวิธี หากแต่ผลลัพธ์ ช้าเร็วแตกต่างกันไป การคิดก็แตกต่างกันไป แล้วการบริหารการซื้อขายก็ต้องแตกต่างกันไปด้วย

อาทิเช่น ถ้าเราพูดถึง บริษัทอย่าง Toyota ในปัจจุบันซึ่ง ถูกกระหน่ำอย่างหนักจากข่าวร้ายในช่วงที่ผ่านมา ยอดขายตกลงอย่างต่อเนื่อง PE ก็ติดลบ ถึงสองหลัก ถ้าเป็นท่านจะเขียนซื้อหรือขาย ? เพราะทุกอย่างมองได้ มากกว่า สองมุมเสมอ เพราะถ้ามอง Fundamental อาจจะไม่ดี มอง Brand หรือ Management อาจจะดีว่าจะผ่านร้อนไปได้ หรือมอง เทคนิคคัล ยังต้องรอจังหวะไปก่อน ... ตรงนี้ จะเกิด Dilemma เพราะ ขึ้นอยู่กับนักวิเคราะห์เองว่าเล่น style ไหนได้บ้าง หรือ ว่ายืนตามเฉพาะแบบฉบับของตนเองอย่างเดียว ในขณะที่ นักลงทุน จะทำตามแบบฉบับของตนเองเป็นหลัก

หรือ ตัวอย่างง่ายๆ ในเล่มอย่างการแนะนำ หุ้นที่มี Volume ต่ำแต่ Fundamental ดี ทำให้ลูกค้าติดหุ้น มาต่อว่า ก็เป็นเรื่องของมุมมองที่ต่างกันนั่นเอง

ในเล่มนี้บางท่านให้ข้อคิดที่ดีทีเดียว อย่าง
คุณ ธวัชชัย อัศวพรไชย ก็ให้หลักการเขียนบทความที่ อิง Sentiment ด้วย อิง Fundamental ด้วย
คุณ เพดิมภพ สงเคราะห์ ก็ให้ข้อคิดในการจัดพอร์ตยามเกษียณอายุ
คุณ วชิราลักษณ์ แสงเลิศศิลปชัย กับการเผชิญหน้ากับลูกค้าที่มี อิทธิพล

เรียนรู้การวิเคราะห์ด้วยตนเอง 

ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้ใช้บทวิเคราะห์ในการตัดสินใจแต่อย่างใด

ทั้ง Style การลงทุนแบบ ต่างๆท่านจะฝึกฝนได้เอง ตามอายุการเล่น และ การใฝ่หาความรู้ และโอกาสที่ นำเสนอโดย ตลาดเอง
นักลงทุนด้วยกัน มักจะได้เครดิตดีกว่า นักวิเคราะห์ อาทิ ดร. นิเวชน์ อาจจะมีน้ำหนักกว่า บทวิเคราะห์ แต่บังเอิญอาจจะไม่ใช่ style การเล่นที่ท่านเอามาใช้ได้ เพราะอย่างที่กล่าวมาแล้วว่า นักลงทุนมักจะมี style ที่ชัดเจนเป็นของตนเอง

อย่างไรก็ดีผมขอแนะนำให้เปิดใจ กับการลงทุนหลายๆ แบบ เพราะท่านเองจะรู้ในที่สุดว่ามันจะให้ประโยชน์เมื่อถึงเวลาของมัน

หากสนใจทดลองใช้งานโปรแกรม investorPlugin ได้ฟรี 14 วัน คลิ๊กเลย

Tel :: 02 166 3159-61 # 103-106
Email :: sales@investorz.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ads Inside Post